ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สามคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declar) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม แลัปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรศฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 อินโดนิเซีย เมื่อ 7 ต.ค. 2546 ผู้นำปรเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC)
2. ประชาคมสังคมและวัฒธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ ” One Vision, One Identity, One Communitty.” หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม
เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฏหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community หรือ AEC) ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้านต่างๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่างๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียต่อไป
ผลของประชาคมอาเซียนต่อการบริหารจัดการท้องถิ่น
การพัฒนาของการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการขับเคลื่อนมากว่าทศวรรษ ภายหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อการบริหารจัดการสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนท้องถิ่น ได้มีความคิดริเริ่มและนวัตกรรมเกิดขึ้นมากมายในท้องถิ่นมีการพัฒนาความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีนักการเมืองและนักบริหารและนักบริหารรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อท้องถิ่นที่มีความรู้ มีประสบการณ์ใหม่ๆ เข้ามาร่วมมือกับฐานชุมชนที่มีความเข้มแข็งมากขึ้น
ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายโดยเฉพาะในเรื่องพร้อมที่สุดของอาเซียน คือการเสาหลักด้านเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปทั่วอาเซียน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ จะเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนและแรงงาน และการเคลื่อนย้ายของการลงทุน ที่มีทั้งขนาดและความหนาแน่นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ข้าราชการ และนักบริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่น จะต้องเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่น อาทิเช่น การขยายตัวของการค้า การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวการเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่ๆ การเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศ การผ่อนปรนกฏระเบียบต่างๆ ซึ่งจะเกิดผลกระทบกับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกจากภาคท้องถิ่นจะต้องเตรียมรับมือให้เกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของภาครัฐที่จะต้องทำคือ การส่งเสริมพัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความทันสมัย โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถขององค์กรให้สูงขึ้นในทิศทางที่สามารถทำให้ประชาชนสามารถเข้าร่วมและมีเสรีภาพในการเลือกสิ่งหรือบริการสาธารณะใดๆ ในสังคม
ด้วยการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน จะเป็นการสร้างทั้งภาระ และโอกาสใหม่ๆ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่กรอบการเป็นรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ก็จะต้องคงอยู่ ดังนั้นเงื่อนไขการบริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่น ก็ต้องขึ้นกับนโยบายของภาครัฐ ที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและมีช่องทางที่กว้างขึ้นให้กับการบริหารจัดการตนเองของส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ได้ปรับตัวให้กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ